ดูแลผู้ป่วย
Health

สิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้ในการ ดูแลผู้ป่วย

ผู้ป่วย หมายถึง ผู้ที่เข้ารับการรักษาหรือผู้รับบริการด้วยการพยาบาล โดยมีการจำแนกประเภทของผู้ป่วยไว้ 2 ประเภท คือ

  1. ผู้ป่วยใน หมายถึงผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล อย่างน้อย 6 – 8ชั่วโมง หรือผู้ที่ต้องเสียค่าห้องและอาหารประจําวันในการเข้ารักษาในโรงพยาบาลและสถานพยาบาล
  2. ผู้ป่วยนอก หมายถึง ผู้ที่รับการบริการหรือเวชภัณฑ์อันเนื่องมาจากการรักษาพยาบาลในแผนกผู้ป่วยนอกหรือในห้องรักษาฉุกเฉินของโรงพยาบาลและสถานพยาบาล หรือผู้ที่รับการศัลยกรรมผ่าตัดเล็ก (minorsurgery) โดยไม่เป็นผู้ป่วยในตามนิยามผู้ป่วยใน

และผู้ป่วยทั้ง 2 ประเภท ยังคงจำแนกได้อีกว่า เป็นผู้ป่วยรายที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

            ในกรณีผู้ป่วยใน ที่ได้รับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล อีกทั้งยังเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จะต้องได้รับการดูแลจากคนใกล้ชิด คนในครอบครัว หรือแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลนั้นๆ ผู้ป่วยประเภทนี้จะต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยนั้น ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการขับถ่าย การรับประทานอาหาร โดยปัจจัยที่เสียงที่ควรเฝ้าระวังและผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีดังนี้

  1. เสี่ยงเกิดแผลกดทับ การที่ผู้ป่วยนอนนานๆ บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่างๆ เหล่านี้จะขาดเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนัง จึงทำให้เซลล์บางตัวตายจนเป็นแผลไปเรื่อยๆ สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด เช่น ท้ายทอย สะบัก ศอก สะโพก กระดูกก้นกบ ส้นเท้า เป็นต้น ในระยะแรกอาจเกิดอาการลอกแค่ที่ผิว แต่พอนานวันเข้าก็อาจจะลอกไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ หรืออาจจะถึงชั้นกระดูก และเมื่อร่างกายปราศจากผิวหนังซึ่งทำหน้าที่ปกคลุมเเล้ว โอกาสเกิดการติดเชื้อจึงมีมากขึ้น และอาจรุนแรงถึงชีวิตได้
  2. ภาวะกลืนลำบาก ความผิดของช่องปาก เป็นสาเหตุของภาวะกลืนลำบาก มีความเสี่ยงต่อการสำลักในขณะรับประทานอาหาร อาจทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ เพราะเศษอาหารหลุดเข้าไปที่หลอดลม และที่แย่ไปกว่านั้น คือเศษอาหารชิ้นใหญ่อาจเข้าไปอุดหลอดลมได้ ดังนั้น ผู้ดูแลควรปรับเตียง 45-90 องศา จับลุก นั่งบนเตียง โดยใช้หมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัว นอกจากนี้ ควรปรับอาหารให้เหมาะสม
  3. ความสะอาด เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากที่ผู้ดูแลไม่ควรจะละเลย เนื่องจากความสะอาดเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในหลายๆ ด้าน เช่นสภาพทางด้านร่างกาย หากร่างกายไม่สะอาด จะส่งผลให้อาการเจ็บป่วยนั้นหนักกว่าเดิม
  4. ภาวะสุขภาพจิต ปัญหาด้านสภาพจิตใจก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผู้ดูแลจำเป็นต้องเอาใจใส่ เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีภาวะของโรคแตกต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายกัน คือความเบื่อหน่าย และความทุกข์ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมต่างๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วย เพื่อผ่อนคลาย และลดความเศร้าลง ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้ หรือผู้ดูแลควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม และความปลอดภัย
ดูแลผู้ป่วย